เกมป้องกันแบบเกาหลีใต้
สวัสดีครับ วันนี้โค้ชจอห์นอยากนำเสนอ เกมป้องกันแบบเกาหลีใต้ครับ
บาส เกาหลีใต้ นั้นแข็งแกร่ง และแม่นระยะวงนอกมากๆ ครับ ไม่งั้น ไม่สามารถเป็นทีมระดับท็อปของเอเชียรได้เลย ถึงแม้จะมีตัวโอนสัญชาติมา 1 คน ก็ตาม
ทีม เกาหลีใต้ ชนะได้ด้วยเกมป้องกันครับ พวกเขาใช้เกมรับแบบยืนคุมโซน 3-2?
งงละสิ ปกติเคยเห็นกันแต่ Zone 1-2-2 แต่นี้ผมเรียก Zone 3-2 ซะงั้น
สิ่งนี้ทำให้เราเรียนรู้ได้เรื่องหนึ่งว่า บาสเกตบอลนั้นไม่มีกฎตายตัว สามารถพลิกแพลงกลยุธได้แล้วแต่กึ๋นของโค้ชและเซ้นส์ (Basketball IQ) ของนักกีฬา
ทำไม เกาหลีใต้ ใช้โซน 3-2 อันนี้ผมไม่รู้หรอก แต่ผมดูแล้วเห็นว่า มีประโยชน์ที่จะเอามานำเสนอกันครับ เพราะการเคลื่อนที่ การมูฟเม้น นั้น น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เริ่มกันที่ การแทนตำแหน่งของสามตัวบนนะครับ ผมเชื่อว่า ทุกคนเคยเล่นเกมรับ โซน 2-3 กันมาทั้งนั้น ถ้าใครยืนสองตัวบน จะรู้เลยว่า โดนโยคบอลซักสาม สี่รอบ ก็เลิกขยับแล้ว เพราะ ป้องกัน ตัวบุก สามต่อสอง เป็นปกติ

แต่ถ้ายืน 1-2-2 ละ?
โซน 1-2-2 แม้จะเป็นการป้องกันแบบ สามต่อสาม แต่ก็อาจะจะทำให้ ตรงกลางโล่ง ได้ครับ

เกาหลีใต้เลยปรับเป็น ยืน 3-2 มันซะเลย

มีหลายจังหวะที่น่าสนใจครับ

การเคลื่อนที่ ทดแทนตำแหน่ง ในเกมป้องกันนั้น น่าสนใจอย่างยิ่งครับ จากตัวอย่างแรกที่ได้เห็นไปแล้วนะครับ เรื่องการแทนตำแหน่ง เวลาที่ เพื่อนร่วมทีม เสี่ยงพุ่งเข้ามาตับอลครับ

ตัวรับตรงกลาง เน้นผู้เล่นตัวสูงใหญ่ เพื่อ?
เพื่อ ต้องยืนกั๊กสองพื้นที่ให้ได้ครับ เช่น

ตัวตรงกลาง ถ้าตัวไม่สูง แขนไม่ยาว มันจะป้องกันสองพื้นที่ได้ลำบากนะครับ และสังเกตตัวล่างซ้ายนะครับ เขาขึ้นมาซ้อนตัวบุกที่ยืนขอบอลอยู่แถวๆเส้นโทษ เพราะสถานการตอนนั้น ตัวบุกไม่มีใครยืนพื้นที่ด้านล่าง ตัวรับก็ต้องทิ้งพื้นที่ตัวเองมาซ้อนบอลสอง ให้เพื่อน มีประโยนช์มากกว่า ยืนเอาพื้นที่ตัวเอง ที่ไม่มีทีมบุกยืนอยู่เลย
พอเซ็นเตอร์เขาไหลลงล่าง เราก็แค่ ไหลตามลงไปประกบ (boxing out) รอรีบาวน์
จังหวะ หมุนแทนตำแหน่งซึ่งกันและกัน : Rotation
จังหวะแทนตำแหน่งนั้น โคตรจะสำคัญ จะเห็นได้ว่าผู้เล่นทีมเกาหลีใต้นั้น เข้าใจการยืนพื้นที่ของตำแหน่งอื่นๆที่ไม่ใช่ตำแหน่งของตัวเอง (มองภาพรวมของระบบ 3-2 โซนได้แตกฉาน)
ไม่ว่าฉันจะยืนในตำแหน่งของใคร ฉันก็สามรถเล่นทดแทนเพื่อนได้
ลองดูตัวอย่างครับ

สังเกตุ ตัวบนที่ยืนตรงกลาง
พอมีคนคัดลงล่าง เขาจะลงมาช่วยปิดทางส่ง (passing lane) บอลให้เซ็นเตอร์ของทีมรุก
เสร็จแล้วตัวที่ยืน ขาล่าง ฝั่งที่ไม่มีคนบุกยืนอยู่ ก็สลับไปยืน ตัวบนตรงกลางแทน คนที่ลงมาช่วยแต่แรก และเมื่อเพื่อนโดนสกรีน ก็สลับไปเล่น ตัวบนทางขวา โดยตัวที่โดนสกรีนก็พยายามดิ้นออกจากสกรีน เพื่อมาดับเบิ้ลทีมช่วยอีกแรง
ตอนนี้คนที่ยืนตัวบนตรงกลาง ไปอยู่ไหนแล้ว?
ก็ไปยืนขาล่าง แทนคนที่ขึ้นไปแทนตำแหน่งตัวเอง
จังหวะถัดมา ทีมรุกโดนรุม ต้องรีบออกบอล แต่มีตัวคัดล่าง มาเสริม เกิดอะไรขึ้น?
ตัวยืนขาล่างทางซ้าย ตามประกบติดหนึบ เท่ากับว่า พื้นที่ตรงนี้มีคนป้องกันอยู่ถึงสองคนมันไม่มีประโยนช์ครับ
ตอนนี้คนที่ยืนตัวบนตรงกลางในตอนแรก ที่ตอนนี้โดนเพื่อนวิ่งมาทับตำแหน่งตัวเอง ก็ตัดสินใจ rotation อีกครั้งหนึ่งมายืนตำแหน่งทางขวาล่าง และ ยืนป้องกันแบบกั๊กสองตัวไกลบอล (คุมพื้นที่เอาไว้) ได้นั่นเอง
เห็นไหมครับว่า เราต้องรอบรู้มากกว่าแค่ตำแหน่งยืนของตัวเอง ถึงจะเล่นเกมป้องกันได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะเมื่อป้องกันได้แล้ว เท่ากับว่า เราไม่เสียแต้ม ถ้าเรากลับไปบุกแล้วได้แต้ม กลับมาป้องกันได้อีก
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต้มอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าป้องกันอยู่รับรองว่า ชัยชนะจะอยู่ข้างคุณแน่นอนครับ
ส่วนใครอยากดู vdo เต็มๆ เชิญคลิปตัวนี้ละกันนะครับ ยังมีอีกหลายจังหวะ ในการ ซ้อนตัวประกบ สลับตำแหน่ง เพื่อทดแทนคนที่หลุดพื้นที่ออกไป ยังไง ใครสงสัยตรงไหน คอมเม้นไว้ครับเดี๋ยวกลับมาตอบให้นะ
