6 ขั้นตอน ฝึกเลย์อัพ ง่ายๆ
ถ้าอยากชนะ คุณต้องเป็นคนที่ทำคะแนนใกล้ห่วง ได้อย่างสม่ำเสมอ
ผู้เล่นหลายคน มักไม่ใส่ใจ ที่จะฝึกเลย์อัพ เพราะ!
มันดูไม่เท่ มันดูง่าย (แต่หลายคนยังทำไม่ได้)
หลายคนไม่ตระหนักว่า
เวลาคุณบุกขึ้นมาด้วยความเร็วจี๋ คุณมักจะควบคุมบอลในมือไม่อยู่!
ทำให้การเลย์อัพหนนั้น พลาดไปอย่างน่าเสียดาย (อาจถึงแพ้เกมในบางครั้ง)
หรือคุณคงเคยโดนประกบติดแจจน ไม่มีมุม ไม่มีเหลี่ยมที่จะเลย์ฯ แบบง่ายๆ
ในบทนี้เราจะมาพูดถึง
การเลย์อัพคืออะไร?
และมีขั้นตอนอะไรบ้างที่เราควรคำนึงถึง
- การเลย์อัพนั้นเป็นการทำคะแนนที่ใกล้ห่วงที่สุด และ
- ทุกการเลย์อัพได้แค่ 2 คะแนน (อาจมีลูกฟาล์ลง ได้ชู้ตลูกโทษ)
เพราะว่าการทำคะแนนด้วยการเลย์อัพนั้น
สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ และหลายสถานการณ์
ผมเลยขอนำเสนอ 6 ขั้นตอน ฝึกเลย์อัพ ง่ายๆ ให้เพื่อนๆ น้องๆ เอาไปทดลองทำดูกันนะครับ
ขั้นตอนที่ 1 ตามองห่วง

ทำไมต้องมองห่วง มี 2 เหตุผลครับ
1 ล็อกเป้าหมาย เป้าหมายในที่นี้คือ ห่วง หรือ กระดาน (แป้นบาส) การมองเป้าหมายที่จะทำคะแนน ทำให้การปล่อยบอลออกมาจากมือของผู้เล่น มีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งนี้ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ จะทำได้ดีขึ้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้เล่นจะคุ้นเคยเมื่อพวกเขาได้รับประสบการณ์มากขึ้น
2 อ่านการเคลื่อนไหวของผู้เล่นทีมรับ เพราะทุกครั้งที่เราจะเลย์อัพ มันจะต้องมีคนมาป้องกันเราอย่างแน่นอน (นอกจากหลุดโล่งๆ) การมองห่วง จะทำให้หางตาของเรามองเห็นผู้ป้องกัน และทำให้เราเลือกตัดสินใจวางบอลในหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่สถานการณ์ ณ ตอนนั้น
ขั้นที่ 2 ก้าวแรก (Outside Foot Step)

ก้าวแรก ให้ก้าวยาวๆ ครับ และก้าวแรกคือ ขาด้านนอก (Outside Foot Step) สมมติคุณวางบอลด้วยมือขวา (ถนัดขวา) และยืนอยู่ทางด้านขวาของห่วงบาสเกตบอล ขาด้านนอกของคุณจึงเป็น ขาขวา นะครับ (คนถนัดซ้าย ก็เป็นขาตรงกันข้าม)
ก้าวให้ยาวกว่าก้าวปกติ และคอนโทรนร่างกายให้อยู่
บ่อยครั้งที่ผมเห็นนักบาสมือใหม่ คุมร่างกายตัวเองไม่อยู่ และโยนบอลล้นออกนอกเป้าหมาย ไปไกลเลยละ
ขั้นที่ 3 ก้าวที่สอง (Inside Foot Step)

ก้าวที่สอง ให้โดดให้สูงที่สุด เท่าที่จะทำได้! (Inside Foot Step = เท้าด้านใน) เพื่อทำให้วางบอลได้ใกล้ห่วงมากที่สุด
จำไว้ว่า วางบอลมือไหน เข่าขานั้นจะยกขึ้น
ขั้นที่ 4 ปกป้องบอลในมือ ขณะวางบอล

การวางบอลที่มือขวา ให้ใช้มือซ้ายบังบอลเอาไว้ เพื่อป้องกัน การถูกบล็อก หรือโดนล้วงบอลไปจากมือ แบบง่ายๆ
ขั้นที่ 5 สบัดข้อมือเล็กน้อย

สอนให้ผู้เล่นนำลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะยืดแขนแล้วสะบัดข้อมือเพื่อนำลูกบอลเข้าห่วง
ในเด็กตำกว่า 10 ขวบ นั้น การใช้ลูก overhand layup (คว่ำมือชู้ต) นั้นจะทำได้ง่ายกว่า การทำ underhand layup (หงายมือชู้ต)
Note : หากคุณกำลังฝึกสอนผู้เล่นที่อายุน้อยมากคุณอาจพบว่าพวกเขาดันบาสเก็ตบอลขึ้นมาจากอกแทนที่จะนำลูกบอลขึ้นเหนือหัวก่อนยิง…นี่เป็นเพราะขาดความแข็งแกร่งของร่างกาย
นี่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในขณะที่พวกเขายังเด็ก แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขากำลังเติบโตจากนิสัยนี้เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น
ขั้นที่ 6 ฝึกฝน ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก
เมื่อผู้เล่นของคุณเข้าใจเทคนิคการเลย์อัพที่ถูกต้องแล้วก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะเริ่มฝึกฝนการเลย์อัพอย่างจริงจัง!
สิ่งสำคัญสองสามข้อที่โค้ชต้องคำนึงถึงคือ :
องศาและเหลี่ยมมุมและความเร็วในการวางบอล
เรียกใช้การฝึกซ้อมเลย์อัพจากมุมที่แตกต่างและความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น
- ทาง ขวาและซ้าย
- มุมตรงกลางห่วง และ
- จากเส้นเบสไลน์
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวผู้เล่นเองในเกมแข่งจริง
ฝึกให้คล่องทั้งมือซ้ายและมือขวา
เมื่อเลย์อัพมือขวาได้คล่องแล้ว ต้องอย่าลืมฝึกการเลยือัพด้วยมือซ้ายด้วย เพราะ ในเกมแข่งจริงๆนั้น เราเลือกฝั่งเลย์อัพไม่ได้ บางที บางจังหวะ เราอาจจะยืนในด้านซ้าย โดยไม่ได้ตั้งใจ แต่มันว่างพอที่จะเลย์อัพได้ ก็ต้องทำได้
ไม่งั้นก็ไปนั่งดูเพื่อนเล่น อย่างเดียว (เลือกเอา)
ต้องทำให้เกิดการแข่งขันในขณะฝึกซ้อม

เพราะมันจะเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับผู้เล่นได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างการฝึกก็เช่น
เลย์อัพแบบจับเวลา 5 นาที 30 ลูกลง เป็นต้น
ผู้เล่นของคุณอาจต่อสู้กับแรงกดดันในการฝึกฝน ในตอนแรกพวกเขาอาจฝืนจังหวะ ก้าวเท้าที่ไม่ถูกต้องหรือเร่งฝีเท้าสองขั้นตอนมากเกินไป แต่พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการฝึกฝนนี้ในระยะยาว แน่นอนครับ