“วิ่งเก็บเส้น” อาจไม่ได้ดีอย่างที่คิด!

“4 เส้น 30 วิ” เสียงนี้ได้ยินกันทุกวัน เวลาซ้อมบาส วิ่งกันหูดับ!

จากประสบการณ์ นักกีฬาไทย ที่กำลังมีไฟ อยากชนะ จะวิ่งผ่าน แต่….

พวกตัวเก๋าๆ ผ่านเกมมาแล้ว จะวิ่งไม่ค่อยผ่าน (แค่นี้ก็เห็นความต่างของนักบาสไทยกับนักบาสต่างประเทศ เพื่อนบ้าน) แต่….

วันนี้ไม่ได้มาบ่นเรื่อง “ความเป็นมืออาชีพของนักยาสไทยแต่อย่างใด”

วันนี้จะมาชวนคิดถึงเรื่อง “วิ่งเก็บเส้น” กันครับ

ผมคนนึงที่ก็เคยทั้งวิ่งเอง และเทรนฯให้นักกีฬาวิ่ง มาแล้ว

มันก็เหนื่อยดีนะ น่าจะเสริมสร้างกำลัง ก๊อก 2,3,4 ได้ดี สิ แต่….

โค้ชต่างประเทศ ได้คุยกันเรื่อง “การวิ่งเก็บเส้น มันช่วยได้จริงๆหรือ?”

ผมเลยจะมาสรุป คร่าวๆให้ท่านได้ลองพิจารนา กันครับ

การวิ่งเหล่านี้มีประเด็นและมีเจตนาที่ดีอย่างแน่นอน “บาสเก็ตบอลคือเกมวิ่ง” และทีมที่ดีต้องมีแรง อย่างไรก็ตาม มีหลายเหตุผลที่เชื่อได้ว่ามีวิธีที่ดีกว่าในการเตรียมทีมของคุณให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน

เดี๋ยวผมเล่าให้ฟัง …

ข้อเสียของการวิ่งเก็บเส้น

  1. เสียเวลาซ้อม

วันนึงๆ เรามีเวลาซ้อมที่จำกัด ยิ่งช่วงโควิทแบบนี้ แทบไม่ต้องซ้อมกันละ

หากคุณเป็นโค้ชให้กับผู้เล่นในโรงเรียนมัธยมปลาย คุณมีไอเดียมากมายที่จะนำไปสอนเด็กๆเช่น การบุกแบบตัวต่อตัว แผนตีโซน แผนเกมรับ ฯลฯ

เวลาซ้อมมีค่ามากกว่านั้น!

การจัดสรรเวลาเพียงเพื่อวิ่ง เรากำลังเสียเวลาฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาผู้เล่นบาสเกตบอลให้เก่งขึ้น!

2. การวิ่งไม่ได้พัฒนาทักษะ

แม้ว่าสภาพร่างกาย พละกำลัง จะมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด แต่ทีมบาสเก็ตบอลที่มีทักษะมากที่สุดมักจะเป็นฝ่ายชนะ

บาสเก๋าไม่มีแรง แต่เทคนิคแพรวพราว

เราจำเป็นต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อพัฒนาชุดทักษะของผู้เล่นตลอดการฝึกฝน แต่การวิ่งเก็บเส้นไม่ได้ทำให้ทักษะบาสเกตบอลของนักกีฬาดีขึ้น

3. การวิ่งไม่สนุก

ไม่มีใครเข้ามาเล่นบาสเกตบอล เพียงเพื่อจะมาวิ่งจากเก็บเส้น

โดยเฉพาะในระดับเยาวชน ความสนุกต้องมาก่อน (เพื่อให้เขารักบาสเกตบอลก่อน)

ผู้เล่นที่หลงรักบาสเก็ตบอลจะมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตัวเองมากขึ้น

เด็กๆบางคน หันหลังให้บาส เพราะโดนสั่งวิ่งเพียงอย่างเดียว!

4. นักกีฬาจะไม่ยอมซ้อมเต็มที่

ถ้าเขารู้ว่ากำลังจะเจอแบบฝึกการวิ่งเก็บเส้น เค้าจะพยายามออมแรงเอาไว้ เพื่อให้เขาสามารถอยู่รอดได้จนจบ ชั่วโมงการฝึกฝน

การซ้อมต่อจากนั้น มันจะลดประสิทธิภาพลงอย่างมาก เพราะผู้เล่นหมดแรงไปก่อนแล้ว จากการวิ่งเก็บเส้น

5. การวิ่งไม่สะท้อนเกม

เห็นได้ชัดว่าเกมบาสเก็ตบอลเกี่ยวข้องกับการวิ่ง

อย่างไรก็ตาม มีเพียงไม่กี่ครั้งที่ผู้เล่นวิ่งไปมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าติดต่อกัน

การวิ่งเป็นเพียงการเคลื่อนไหวที่สำคัญอย่างหนึ่งของบาสเก็ตบอล

ในระหว่างการวิ่ง ผู้เล่นอาจตัด กระโดด สับเปลี่ยน ฯลฯ เคลื่อนที่หลากหลาย

ดังนั้นจึงควรวางแผนการการฝึกซ้อมของคุณในแบบที่สมจริงยิ่งขึ้น

แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้เล่นของเรามีความฟิต?

  1. ซ้อมเต็มสนามให้บ่อยที่สุด

หลายๆทีม มันทำการฝึกซ้อมแค่ครึ่งสนาม เท่านั้น! (จะด้วยข้อจำกัดของสถานที่หรือจำนวนคนมาซ้อมก็ตามแต่) การซ้อมครึ่งสนาม เหมาะสำหรับการซ้อมเพลย์ มากกว่า

บาสเกตบอลเป็นเกมแบบ ผลัดกันรุก-รับ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การซ้อมแบบเต็มสนาม จะทำให้ผู้เล่นต้องวิ่งขึ้น วิ่งลง อยู่แล้ว

มันช่วยได้มากเรื่องสร้างพละกำลัง!

2. เน้นเพจการซ้อมให้ไวขึ้น

โดยการบีบด้วยเวลา เช่น หากต้องซ้อมชู้ต เราต้องกำหนดจำนวนเกณผ่าน และจำกัดเวลา เพื่อบีบให้ผู้เล่น ต้องเร่งจังหวะการชู้ตให้เร็วขึ้น มีเวลาพักแต่ละจุดน้อยลง หรือ…

การซ้อมทีมเต็มสนาม ก็ลดเวลาช็อตคล็อกลง เพื่อให้เพจของเกมมันเร็วขึ้น ผู้เล่นก็จะต้องวิ่ง ขึ้น-ลง มากขึ้นไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม

ถึงผมจะเรียนรู้แล้วว่า “การวิ่งเก็บเส้น” นั้น มันมีข้อเสียหลายอย่าง แต่เราก็สามารถทำให้การวิ่งเก็บเส้นมีประโยชน์ขึ้นมาได้ โดย เราอาจจะ แยกส่วนการวิ่งนี้ออกจาก ตารางฝึกฝนต่างหาก เช่น วันนี้ไม่มีการซ้อมทักษะบาส แต่จะเน้นไปที่การเพิ่มความฟิต เช่นการวิ่ง ในรูบแบบต่างๆ

แยกให้ชัดเจนว่า วันไหนวันวิ่ง วันไหนวันซ้อม เพื่อที่จะได้มีเวลาพักฟื้นร่างกาย ลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น

basketball
สิบขั้นตอนชู้ตสามขั้นเทพ ราคา 99 บาท!
สมาชิกพิเศษรับชมได้ในราคาแค่ 30 บาท เท่านั้น

ใส่ความเห็น

error: Content is protected !!