ทำไมบาสไทย คนดูน้อยจัง

ปิดฉากไปแล้วทั้งสองรายการนะครับ ทั้งบาส TBL และ TPBL วันนี้เลยอยากมาเล่าประสบการณ์หลังจากได้ร่วมแข่งขัน TBL และมุมมองต่อ บาสเกตบอลในเมืองไทย ของข้าพเจ้า

นี่คือความคิดเห็นส่วนตัว ใครเห็นด้วยก็ได้ เห็นต่างผมก็ยินดี นะครับ

ทำไมบ้านเราถึงมีสองลีก?

คำถามนี้ ผมคงไม่ขอออกความเห็นนะครับ ยิ่งมีหลายๆลีก ผมว่ายิ่งดี แต่ “คุณต้องไม่จัดแข่งช่วงเวลาเดียวกันสิ”

ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ การมีสองลีกเลยนะ แต่มันอยู่ตรงช่วงเวลาจัดการแข่งขันที่มันชนกัน ทำให้นักกีฬาต้องวิ่งรอกทั้งสองรายการ

ถ้าอยากให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่วงการก็น่าจะจัดตารางแข่งขันให้สอดคล้องกว่านี้ แทนที่จะมาวัดกันว่าใครดีกว่ากัน

ที่นี้ผมอยากมาแลกเปลี่ยนมุมมองในบางเรื่องครับว่า ทั้งสองลีกนั้น เป็นเพื่อนๆ จะร่วมแข่งรายการไหนดี?

มุมมองที่หนึ่ง คนทำทีม และคนลงทุน

“รายได้ไม่พอ รายจ่าย”

“รายได้ไม่พอ รายจ่าย” ครับ ทีมที่มีเงินจ่ายค่าเหนื่อยนักกีฬาไหวในประเทศไทยมีแค่ สองทีม เท่านั้น (สองทีมนี้ยังแบ่งได้เป็น ทีมเอและทีมบี เสียด้วย) ที่เหลือตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครับ

แล้วแบบนี้ใครจะอยากมาลงทุน ในเมื่อ เห็นๆอยู่ว่ายังไงก็ขาดทุน บาสเกตบอลบ้านเรายังขาดแรงสนับสนุนจากแฟนๆครับ

ลองมองดูตัวเองก็ได้นะ ถ้าวันนี้คุนเชียร์ทีมโปรด แต่ไม่เคยไปดูที่สนามแข่งขัน (ข้ออ้างสารพัด) ทั้งๆที่จัดให้เข้าชมฟรีๆ ทีมจะเอารายได้จากไหนมาหล่อเลี้ยง?

ยิ่งถ้าหากเก็บเงินค่าเข้าชมยิ่งไปกันใหญ่ ทีมมันอยู่ไม่ได้ เพราะเงินมันไม่พอ ฐานแฟนมันไม่มี

หรือเราควรจัดแค่บาสหมู่บ้าน จะได้มีคนในชุมชนออกมาเชียร์

ปัญหานี้อาจจะต้องไปขอดูงานกับไทยพรีเมียลีกละมั้ง ว่าทำไมแฟนบอล ยอมจ่ายค่าเข้าสนาม ยอมจ่ายค่าเสื้อเชียร์ ยอมจ่ายค่านู่น นี่ นั่น เพื่อสร้างรายได้ให้แก่สโมสร

เป็นผมเอง ผมก็ไม่เชียร์ ไม่สนับสนุนเพราะ?

มัมไม่มีความผูกพันธ์กันกับสโมสรหรือกับตัวนักกีฬามั้งนะ คุณลองมองดูกีฬาของต่างประเทศกันนิดนึง เช่น คนอังกฤษที่เกิดในเมือง ลิเวอรพูล เค้าจะเชียร์ทีมอะไร?

หรือ คนที่อยู่อเมริกา เกิดที่แอลเอ เค้าจะเชียร์บาสทีมไหน?

ทำไมเค้าพร้อมจ่าย?

ในต่างประเทศ ทีมสโมสรกีฬานั้นเป็นมากกว่ากว่าทีมกีฬาไปแล้ว มันเป็นทั้งความภาคภูมิใจของเมือง ของจังหวัด ของชุมชน เป็นแหล่งสร้างแรงบรรดาลใจให้เด็กๆ หันมาเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่มอบกลับไปสู่ชุมชนที่ทีมนั้นๆ เข้าไปลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ เป็นทีมที่ทำให้ ชุมชนนั้นๆ ดีขึ้น เจริญรุ่งเรื่องขึ้น นั่นเอง

LBJ สร้างโรงเรียน และให้เด็กๆได้เรียนหนังสือ

ย้อนกลับมาบ้านเรา ทีมที่ทำได้แบบนั้น มีกี่ทีม?
ทีมที่ทำให้ชุมชนดีขึ้นมีกี่ทีม?
ทีมที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน มีกี่ทีม?

แน่นอนว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่ผมไม่รู้ เพราะผมก็มองในมุมมองของผมคนเดียว เพื่อนๆสามารถคิดเห็นแตกต่างจากผมได้แน่นอน เพราะท่านอาจจะมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่าผมก็ได้

คิดง่ายๆ คนทำทีมบาส ถ้าทำแล้วมีกำไร ทำไมจะไม่มีคนอยากเข้ามาทำทีมเข้าร่วมแข่งขัน จริงไหม?

แต่ละทีมร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียง

“แต่ทุกวันนี้มันยังไม่ใช่ไง” พอมีปัจจัยเรื่องรายจ่ายที่มหาศาล ทีนี้ก็ต้องเลือกลงทุนให้คุ้มค่ากันหน่อย ถ้าคุณเป็นทีมธรรมดาๆ หรือสนใจอยากส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน คุณจะเลือกลงทุนร่วมแข่งขันกับลีกไหนดีครับ? ผมคัดมาเฉพาะเงื่อนไขหลักๆก็แล้วกัน

ลีก A
ไม่จำกัดเพดานค่าจ้างนักกีฬาต่างชาติ (มีเงินมากกว่า ได้เปรียบ)

ลีก B
จำกัดเพดานค่าจ้างนักกีฬาต่างชาติ (มีเงินมากกว่า ก็ไม่ได้เปรียบ)

บาสลีกไทยตอนนี้ ต้องยอมรับเลยว่า พึ่งพาผู้เล่นต่างชาติเป็นแกนหลัก ด้วยโครงสร้างร่างกายที่ดีกว่าคนไทย มันเลยได้เปรียบเวลาลงแข่งขัน ทีมใหนมีตัวต่างชาติเก่งๆ แบกทีมได้ นี้ก็พลิกกระดานได้เลยทีเดียว จากทีมท้ายตาราง ก็สามารถขึ้นมาสู้พวกหัวแถวได้

แต่ก็ต้องแลกกับเม็ดเงินจำนวนมากมายมหาศาลที่เททิ้งลงไป (แล้วผู้เล่นไทยได้ประโยชน์ตรงไหน?)

ถ้าทีมไม่ค่อยมีทุน หาผู้เล่นต่างชาติที่ห่วยเข้ามา (บางคนห่วยกว่านักบาสไทย จริงๆนะ)แล้วให้นักบาสไทยเป็นแกนหลัก ก็สู้ทีมใหญ่ๆไม่ได้ แต้มขาดกระจุย ดูแล้วไม่สนุก คนดูก็ด่า ด่า ด่า

การลงทะเบียนผู้เล่นต่างชาติ

ลีก A ไม่ต้องลงทะเบียนใดใด (อาจะมีแต่ผมไม่ทราบ ก็เป็นได้)

ลีก B ต้องลงชื่อมาก่อน ถึงจะให่ร่วมแข่งขัน

ระบบนี้เรียกว่าการดร๊าฟนั่นเอง ซึ่งลีกเพื่อนบ้านเรา(อินโดฯ)ใช้แก่ปัญหา การจ้างผู้เล่นแบบ Over Rate

แบบ A คุณมีเงิน จ้างเลอบรอน์ มาได้ ก็ให้เล่น

แบบ B ถ้าเลอบรอนอยากเล่น ต้องลงชื่อมาก่อน และยอมรับค่าจ้างเท่าที่กำหนดไว้ และไม่การันตีว่าจะได้อยู่ทีมที่ดี เพราะสิทธิดร๊าฟ มักให้ทีมอันดับห่วยสุดได้เลือกก่อน (เพื่อความยุติธรรม แชมป์ปีก่อน ได้เลือกทีหลังสุด)

ความสนุก คือ ทีมเล็กๆ ก็สามารถล้มยักษได้ครับ ถ้าบริหารจัดการผู้เล่นได้ดี ในงบที่มีจำกัด นี่คืเสน่ห์ ของฝั่ง “อเมริกันเกม” ที่ต่างจาก ฟุตบอลยุโรป ที่ใครทุ่มหนัก ก็มีโอกาสคว้าแชมป์ เว้น เลสเตอร์ ไว้ทีมนึง ครับ ที่สร้างประวัตศาตร์ ของทีมไปแล้ว

การบริหารการเงิน ดูแลผู้เล่น ในงบที่จำกัด มันท้าทายสุดๆ แต่ตอนนี้คนทำทีมขาดทุนไปแล้ว ไม่รู้เท่าไหร่เป็นเท่าไหร่ พอไม่มีคนทำทีม นักกีฬาก็ไม่มีทีมให้สังกัด คนเก่งๆ ก็ไปกองรวมอยูทีมเดียวที่จ่ายได้ ฉนั้น ไม่แปลกครับที่ แชมป์จะซ้ำๆ หน้าเดิมๆ วนๆกันไป ครับ

เพราะคนไทย รักบาสครับ แต่ไม่พร้อมสนับสนุนยังไงละ

คำถามต่อมาคือ ถ้าไม่มีคนลงทุน จะทำไง?

คำตอบของผมคงจะเป็น ถึงไม่มีคนลงทุน ผมก็ยังคงจะเล่นบาสเกตบอลต่อไป จนกว่าจะเล่นไม่ไหว เพราะ กูรักบาสวะ

ใส่ความเห็น

error: Content is protected !!